ชื่อของ “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนที่ 20 ต่อจากนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท. คนปัจจุบัน ที่กำลังจะหมดวาระในเดือนกันยายนนี้
แม้จะไม่ได้เป็นคนที่มีชื่อเสียง รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในกลุ่มคนนอกแวดวงการเงิน และชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป แต่สำหรับในสายงานการเงิน ที่เขาคลุกคลีมานานหลายสิบปีนี้ ชื่อของ “เศรษฐพุฒิ” เป็นที่กล่าวขานกันอย่างมาก ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่โดดเด่น เป็นผู้คร่ำหวอดงานด้านเศรษฐกิจ และผ่านงานด้านนี้มาอย่างโชกโชน
ว่าที่ผู้ว่าการธปท. รายนี้ ซึ่งปัจจุบันอายุ 55 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Swarthmore College สหรัฐ จบปริญญาโท และ ปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยเยล
เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานในสหรัฐ ช่วงปี 2529 – 2531 โดยเป็นที่ปรึกษาธุรกิจเชิงกลยุทธ์ในแมคคินซีย์ จากนั้นในปี 2535 – 2541 เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารโลก ก่อนถูกดึงมานั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการร่วม สถาบันวิจัยนโยบายการคลัง (สวค.) กลุ่มคลังสมองของกระทรวงการคลัง ระหว่างปี 2541 – 2543 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
นายเศรษฐพุฒิ” กลับไปทำงานที่ธนาคารโลกอีกครั้งในปี 2544 ก่อนจะกลับมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในปี 2548 ตามด้วยการเข้ารับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) และขยับขึ้นเป็นกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM) ช่วงปี 2551 – 2552
จากนั้นได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ของธนาคารไทยพาณิชย์ ระหว่างปี 2552 – 2554
หลังออกจากธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด ช่วงปี 2554 ถึงเดือนมกราคม 2561 ระหว่างนั้น ยังคงเป็นกรรมการบริหารธนาคารทหารไทยอยู่ 2 ปี คือในปี 2554 และ 2555
หลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ถูกเว้นวรรคทางการเมือง ต่อมาก็ได้จัดตั้ง “สถาบันอนาคตไทยศึกษา” ขึ้นมา โดยได้ดึง “เศรษฐพุฒิ” เข้ามานั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริหารสถาบัน ช่วงปี 2555 – 2560
เมื่อ “สมคิด” กลับเข้ามาสู่เวทีการเมืองอีกครั้งในสมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) “เศรษฐพุฒิ” ก็ได้เข้ามามีบทบาททั้งกับภาคการเมือง และภาคเศรษฐกิจการเงินของประเทศมากขึ้น
ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เขาเลือกที่จะไม่รับตำแหน่งการเมืองมาโดยตลอด และก่อนหน้าที่จะถึง วันเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม 2562 เพียง 3 วัน เท่านั้น เขาก็ถูกแต่งตั้งเป็น 1 ใน 6 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พร้อมกับ นายนายดิสทัต โหตระกิตย์ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายปิติ ตัณฑเกษม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
ขณะเดียวกัน เขาก็เพิ่งหมดวาระดำรงตำแหน่งกรรมการ ในคณะกรรมการ ธปท. ไปเมื่อไม่นานมานี้ หลังเข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2560
“พ่อ” คือ แนวคิด “คนรอบข้าง” คือ การเรียนรู้ เคล็ดลับของ เศรษฐพุฒิ
ว่าที่ผู้ว่าการธปท. คนใหม่นี้ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสาร ‘BOT พระสยาม ของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการใช้ชีวิตของเขา คือ บิดา
“สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้จากคุณพ่อ คือ ความสำคัญของ Integrity ท่านสอนให้เราทำสิ่งที่ถูกต้อง ถึงคนอื่นจะไม่รู้ แต่เรารู้”
แม้จะไม่ได้เจาะจงบุคคลต้นแบบว่าเป็นใคร แต่ดร.หนุ่มใหญ่รายนี้ บอกว่า เขาได้เรียนรู้จากทุกคนรอบข้าง อาทิ เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้แนวคิด เรื่องการไม่ละเลยสิ่งเล็กน้อย ที่ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่มีผลต่อจิตใจ ของเพื่อนร่วมงานด้วยกัน
ว่าผู้ว่าการธปท.คนใหม่ ยังเล่าถุึง สิ่งที่จะทำให้มีความสุขว่า
“การรู้จักตัวเอง และ ซื่อสัตย์ต่อตัวเองครับ อันนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัว เพราะผมก็เหมือนกับหลายคนที่ยังมีกิเลส เมื่อก่อนเวลาคนชวนไปทำงานเป็นผู้บริหารระดับสูง ดูแลบริษัทขนาดใหญ่ คือ On Paper เป็นงานที่ดูดีจริง แต่นั่นเป็นงานที่ผมชอบน้อยที่สุดและเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขน้อยที่สุดเช่นกัน ฉะนั้น มันจึงกลับมาที่ตัวเราควรต้องวัดจากข้างใน อย่าไปวัดว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร”
เขาทิ้งทายถึงเคล็ดลับความสำเร็จไว้ว่า
“มีใครที่ไม่ชอบความสำเร็จ คือ ความสำเร็จสำคัญนะ แต่ถ้าไปยึดติดกับมันมาก ชีวิตของเราคงไม่มีความสุขนักหรอก”
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"มีชื่อเสียง" - Google News
July 29, 2020 at 03:34PM
https://ift.tt/2Xn56uX
เปิดเส้นทาง 'เศรษฐพุฒิ' จาก นักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง สู่เก้าอี้ผู้ว่าแบงก์ชาติ - thebangkokinsight.com
"มีชื่อเสียง" - Google News
https://ift.tt/36UBHvx
No comments:
Post a Comment