Pages

Tuesday, June 16, 2020

"ไทระ นาโอยูกิ" : ต้นแบบคาแรกเตอร์ตัวจริงของ "บากิ จอมประจัญบาน" - Sanook

sungguhviralaja.blogspot.com

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “บากิ จอมประจัญบาน” ถือเป็นหนึ่งในมังงะที่ได้รับความนิยมในหมู่นักอ่านชาวไทย จากการเป็นมังงะที่ถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ออกมาได้อย่างน่าสนใจ บวกกับความเวอร์วังอลังการ จนน่าติดตาม

อย่างไรก็ดี นอกจากความเวอร์ สิ่งหนึ่งที่ทำให้มังงะเรื่องนี้ที่มีชื่อเสียง คือการนำคาแรคเตอร์ที่มีตัวตนในโลกจริง มาดัดแปลงเป็นตัวละครในเรื่อง

เช่นเดียวกับ “ฮันมะ บากิ” ตัวเอกของเรื่อง ที่เอาคาแรคเตอร์มาจาก “ไทระ นาโอยูกิ” นักสู้ชาวญี่ปุ่น เขาคือใคร? เหตุใดจึงถูกนำมาเป็นต้นแบบ ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับ Main Stand

มวยปล้ำบันดาลใจ 

อันที่จริง เส้นทางนักสู้ของไทระ น่าจะเริ่มต้นตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถม เมื่อในช่วงนั้น บรูซ ลี กำลังได้รับความนิยมในญี่ปุ่น เช่นกันสำหรับไทระ เขาชื่นชอบดาราฮอลลีวูดเชื้อสายเอเชียคนนี้มาก จึงมักจะเลียนแบบท่าเตะของบรูซ ลี เวลาเล่นกับเพื่อนอยู่เป็นประจำ 

 1

และพรสวรรค์การเป็นนักสู้ของเขาก็เริ่มฉายแววจากตรงนั้น เมื่อไทระ เป็นคนที่กระโดดเตะแบบบรูซ ลี ได้เก่งมาก เขากระโดดเตะได้สูงถึง 30 เซนติเมตร และสามารถรักษาสมดุลร่างกายได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถเตะแบบแบ็คคิก (เตะกลับหลัง) ได้ ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กประถม 

จนเมื่อขึ้นมัธยมต้น ไทระ ได้มีโอกาสรู้จักกับศิลปะการต่อสู้แขนงใหม่ที่เรียกว่ามวยปล้ำ อีกหนึ่งในกีฬายอดฮิตทางโทรทัศน์ของญี่ปุ่นในยุคนั้น เขาชื่นชอบในกีฬาชนิดนี้ และฝันที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพนับตั้งแต่ตอนนั้น 

อย่างไรก็ดี เนื่องจากในตอนนั้น เมืองเซนได จังหวัดมิยางิ บ้านเกิดของเขา ที่ตั้งอยู่ห่างจากโตเกียวราว 370 กิโลเมตร ยังไม่มีค่ายฝึกนักมวยปล้ำ ทำให้ ไทระ ตัดสินใจเรียนคาราเต้ แทน โดยมี อาสุมะ ทาคาชิ เป็นอาจารย์  

“ตอน ม.2 ผมชอบมวยปล้ำอาชีพมาก ผมจึงเริ่มเรียนคาราเต้โดยหวังเป็นนักมวยปล้ำอาชีพ ผมฝึกซ้อมทั้งที่โรงฝึก และที่บ้านของผมทุกวัน” ไทระเขียนไว้ในเว็บไซต์ taira-world.com

ทว่าพอขึ้น ม.ปลาย เขารู้สึกว่าโลกการศึกษาไม่มีอะไรอย่างที่เขาวาดฝัน จึงตัดสินใจลาออก หลังเข้าไปเรียนได้เพียงแค่เทอมเดียว แต่พอออกมากลับรู้สึกแย่กว่าเก่า เพราะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองไม่มีที่อยู่ จึงตั้งใจว่าจะสอบเข้าเรียนใหม่ 

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง เขาได้เจอกับคุณอาที่เป็นนักมวยสมัครเล่นแชมป์ญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันพ่อเขาเองก็ชื่นชอบกีฬามวยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พวกเขาจึงแนะนำให้ไทระ ไปเรียนมวยในระหว่างที่รอสอบเข้าใหม่ 

เขาไม่อยากให้เวลาต้องสูญเปล่า จึงตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวง โตเกียว เพื่อไปเรียนมวยอย่างจริงจัง และได้เป็นหนึ่งในนักเรียนของ ทานาเบะ ยิม 

ในระหว่างที่ฝึกมวย ไทระ ยังทำงานพิเศษที่ร้านราเม็งย่านอีดาบาชิไปด้วย โดยเขาทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น หลังจากเลิกงานจึงค่อยไปซ้อมที่ยิม โดยมีเงินเดือน 20,000 เยน (ราว 6,000 บาท) พร้อมอาหาร 3 มื้อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตในเมืองหลวง

ไทระ ฝึกมวยกับทานาเบะยิมอยู่เกือบ 1 ปีเต็ม จนกระทั่งสามารถสอบกลับเข้าไปเรียนม.ปลายได้อีกครั้ง เขาเลือกที่จะเข้าชมรมมวย ในการทำกิจกรรมที่โรงเรียน ซึ่งทำให้เขาได้คลุกคลีกับกีฬาชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้ ยามอยู่นอกโรงเรียนเขายังฝึกคาราเต้กับ อาสึมะ ที่ทำให้เขาได้รู้จักวิชาการต่อสู้แขนงใหม่ที่ชื่อว่า ไดโดจุคุ คิดค้นโดยอาจารย์ของเขา ซึ่งเป็นมีพื้นฐานมาจากคาราเต้ แต่ต้องสวมนวมและเครื่องป้องกันศีรษะ  

ก่อนที่มันจะกลายเป็นสะพานเชื่อมต่อไปสู่อนาคต

ดาวเด่นแห่งชู้ตบ็อกซิง 

หลังเรียนจบมัธยมปลาย ไทระ เดินหน้าสานต่อความฝัน ที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพ ด้วยการมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงโตเกียวอีกครั้งเพื่อฝึกฝนฝีมือให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทำให้นอกจากการซ้อมมวยแล้ว เขายังเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ยิม และรับประทานอาหารมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่า 

 2

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ยังไม่ได้เปิดตัว เขายังไม่มีรายได้อะไร จึงต้องทำงานพิเศษเลี้ยงชีพไปด้วย โดยทำงานตอนกลางวัน และไปซ้อมมวยหลังเลิกงาน ซึ่งงานพิเศษที่เขาทำในช่วงนั้นมีตั้งแต่ พนักงานในร้านกาแฟ ไปจนถึง ผู้ช่วยกุ๊กในร้านอาหาร 

จนกระทั่งในปี 1984 เขาได้งานใหม่เป็นครูฝึกในค่ายศิลปะการต่อสู้ที่ชื่อว่า ซูเปอร์ ไทเกอร์ยิม ของ ซาโตรุ ซายามะ หรือนักมวยปล้ำเจ้าของฉายา “หน้ากากเสือ” ที่เพิ่งเลิกเล่นเมื่อปี 1983 ซึ่งทำให้เขาก็ได้เจอกับนักสู้เก่งๆที่มาเป็นครูฝึกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทัตสึมิ คิโยฮาระ (แชมป์มวยปล้ำในเวลาต่อมา) หรือ นาคามูระ โยรินางะ (ต่อมาเป็นนัก ชูโตะ ของอเมริกา) 

และที่นั่นก็ทำให้เขาได้เรียนรู้ศิลปะการต่อสู้แขนงใหม่ที่ชื่อว่า ชูโตะ ที่คิดค้นโดย ซายามะ ในปี 1985 โดยเป็นศิลปะการต่อสู้แบบผสม ที่สามารถใช้ได้ทั้งการปล้ำ จับล็อค เตะ เข้า ต่อย ทุบ จับทุ่ม ยกเว้นเพียงแค่ใช้ศอกเท่านั้น 

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร สุดท้ายเขาก็ไม่ได้เปิดตัวในฐานะมืออาชีพอยู่ดี ทำให้ ไทระ ย้ายไปอยู่ค่าย ซีซาร์ยิม ของ ซีซาร์ ทาเคชิ อดีตนักคิกบ็อกซิง และ ชู้ตบ็อกซิง และเปลี่ยนไปเล่นกีฬาที่ชื่อว่า ชูตบ็อกซิง แทน

ชู้ตบ็อกซิง เป็นกีฬาที่คล้ายมวย แต่สามารถออกอาวุธได้ทุกอย่างยกเว้นศอก และสามารถจับล็อคขณะยืนได้ ทำให้ไทระ ใช้เวลาไม่นานในการปรับตัว ก่อนจะได้เปิดตัวในฐานะนักสู้อาชีพจากกีฬาชนิดนี้ 

ไทระ ยังนำคาราเต้ ศิลปะการต่อสู้ที่เขาถนัดมาใช้เป็นพื้นฐานในการต่อสู้ และดูเหมือนว่าจะเข้ากันได้เป็นอย่างดี เมื่อมันทำให้เขาทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในเวทีชู้ตบ็อกซิง ด้วยการเอาชนะน็อคคู่ต่อสู้ตั้งแต่ยกแรกในนัดเปิดตัว 

 3

“หลังจบมัธยมปลาย ผมตัดสินใจเดินตามความฝันด้วยการมุ่งหน้าสู่โตเกียว และเพื่อให้แข็งแกร่งขึ้น ผมจึงไปเรียนรู้เทคนิคการต่อสู้ ฝึกซ้อม และยืดเส้นยืดสายทุกวัน” ไทระกล่าวใน  taira-world.com

“สุดท้ายความพยายามก็สัมฤทธิ์ผล เมื่อตอนอายุ 22 ปี ผมได้เปิดตัวในฐานะนักกีฬาอาชีพ เมื่อมองย้อนกลับไป มันช่างเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมราวกับความฝันเลยทีเดียว” 

หลังจากนั้น ไทระ ก็เดินหน้าในสายชู้ตบ็อกซิง และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการเอาชนะคู่ต่อสู้ไปถึง 6 ครั้งจากการประลอง 7 ครั้งแรก โดยเป็นการชนะน็อค 2 ครั้ง และ TKO อีก 2 ครั้ง และกลายมาเป็นคู่เอกของรายการในวงการนี้ 

อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้เก่งในเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว

ผู้ช่ำชองในศิลปะการต่อสู้ 

ไทระ เป็นคนที่มีความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และไม่เกรงกลัว ไม่ว่าคู่ต่อสู้จะแข็งแกร่งแค่ไหน เพราะย้อนกลับไปตอนเริ่มเล่นคาราเต้ใหม่ๆ เขาเคยเอาชนะคู่ต่อสู้ที่มีน้ำหนักถึง 130 กิโลกรัม ในขณะที่เขาหนักเพียง 80 กิโลกรัมมาแล้ว 

 4

หรือแม้แต่ตอนเป็นนักชู้ตบ็อกซิงช่วงแรก ที่ต้องเจอกับแชมป์ยูโด ซึ่งมีพี่ชายเป็นแก๊งอันธพาล ไทระ ก็ยังจัดการคู่ต่อสู้จนอยู่หมัด เอาชนะน็อคด้วยท่าเตะสูงตั้งแต่นาทีแรกของยกแรก จนได้รับการยอมรับจากพี่ชายของคู่ต่อสู้ 

“แกแข็งแกร่งนะ ยังหนุ่มอยู่ จากนี้ไปพยายามให้มากขึ้น ฉันจะคอยเชียร์” คำที่พี่ชายของคู่ต่อสู้บอกกับไทระ ตอนเรียกไปคุย หลังเอาชนะน้องชายของเขา 

นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่หลงใหลในศิลปะการต่อสู้มาก และผ่านการเรียนรู้ในหลายแขนง เริ่มตั้งแต่คาราเต้ มวย ไดโดจูคุ ชูโตะ มาจนถึงชู้ตบ็อกซิง กีฬาที่ทำให้เขาแจ้งเกิด

แต่มันก็ไม่ได้ทำให้เขาหยุดเพียงเท่านี้ เพราะแม้จะเปิดตัวในฐานะนักชู้ตบ็อกซิงไปแล้ว แต่ไทระ ก็ยังสนใจที่จะเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้แขนงใหม่อยู่เสมออย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

ไทระ เคยแม้กระทั่งตัดสินใจมาใช้ชีวิตที่ประเทศไทยเมื่อปี 1989 เพื่อเรียนมวยไทยที่ค่าย สด จิตรลดายิม (แม้สุดท้ายจะได้เรียนมวยสากล เนื่องจากได้ข้อมูลมาผิด โดย เข้าใจว่าค่ายของสด จิตรลดาสอนมวยไทยก็ตาม) 

ในขณะเดียวกัน เขายังเคยลงประลองในการแข่งขัน เซอิโดไคคัง กีฬาที่มีรูปแบบคล้ายกับคาราเต้ แต่เน้นการปะทะได้อย่างเต็มที่ (โจมตีได้ทุกส่วนของร่างกาย) และไปไกลถึงรอบ 8 คนสุดท้าย ในศึกชิงแชมป์ญี่ปุ่นเมื่อปี 1990

 5

หรือตอนที่ ยิวยิตซู ได้รับความนิยมในระดับโลก ไทระ ก็ลงทุนบินข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนกับ คาร์ลี เกรซี ครูฝึกยิวยิตซูชื่อดังถึงซานฟรานซิสโก แม้ว่าในตอนนั้นจะมีข่าวลือว่าตระกูลเกรซี จะไม่สอนศิลปะการต่อสู้แขนงนี้ให้คนญี่ปุ่น แต่เขาก็ได้เรียนมันมาจนได้ 

“ตอนแรก ผมเริ่มเรียนเคียวคุชินคาราเต้ (คาราเต้ที่ออกอาวุธได้ทุกส่วน แต่ห้ามชกหน้า) หลังจากนั้นก็ไปต่อยมวยตอนอายุ 15 เพราะว่าญาติของผมต่อยมวย เขาเป็นแชมป์มวยระดับนักเรียนของญี่ปุ่น” ไทระกล่าวกับนิตยสาร Rings “Battle genesis vol.7”  

“หลังจากนั้นผมก็ไปต่อยมวย และได้เรียนคาราเต้สายไดโดจุคุ และไปได้สายดำของเซอิโดไคคัง ก่อนไปเล่นชูโตะ ชู้ตบ็อกซิง และยิวยิตซู” 

 6

นั่นทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในชาวญี่ปุ่นที่มีความรู้ในศิลปะการต่อสู้เกือบทุกด้าน ในขณะเดียวกันก็ได้รับการยกย่องในฐานะนักสู้ที่มีความสามารถหลายหลาย และโดดเด่นกว่าใครในยุคนั้น 

“ผมเป็นคนขี้เบื่อ อาจจะดูแปลก แต่อาชีพของผมเริ่มต้น 3 เดือนก่อนที่จะมีการเปิดตัวการแข่งขันศิลปะการต่อสู้แบบผสม (MMA) ตอนมันเปิดตัว ผมยังอยู่ในรายชื่อนักกีฬาหน้าใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอยู่เลย”  

“ดังนั้น เพื่อให้ได้รับความนิยม ผมจึงเรียนรู้มันหมดทุกอย่าง มันก็แค่ความบังเอิญล่ะนะ” ไทระ กล่าวอย่างถ่อมตัว 

อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้รับการจดจำในฐานะนักสู้เท่านั้น

บากิตัวจริง 

ด้วยความสามารถที่รอบด้านมาตั้งแต่สมัยเป็นนักชู้ตบ็อกซิง ทำให้ ไทระ มีชื่อเสียงในฐานะนักสู้ที่มีความโดดเด่นกว่าคนอื่น และมันก็ทำให้เขากลายเป็นต้นแบบของ ฮัมมะ บากิ ตัวเอกจากมังงะ “บากิ” ของอาจารย์เคซุเกะ อิตางากิ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1991 

 7

บากิ คือเรื่องราวของ ฮัมมะ บากิ นักสู้ที่ออกผจญภัยเพื่อฝึกปรือฝีมือให้แข็งแกร่งกว่า ฮัมมะ ยูจิโร พ่อของเขา ที่ได้รับชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี โดยตีพิมพ์มาแล้ว 4 ภาคคือ บากิ: จอมประจัญบาน, บากิ: ศึกอสูรจอมประจัญบาน, ฮันมะ บากิ และ บากิ ดอว์ 

จุดเด่นของมังงะเรื่องนี้คือการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้จากทั่วโลกออกมาได้อย่างน่าสนใจ รวมไปถึงความเวอร์วังตามสไตล์มังงะญี่ปุ่น ที่ทำให้ผู้อ่านทั้งญี่ปุ่นติดกันอย่างอมแงม จนมียอดขายสูงถึง 75 ล้านฉบับ รั้งอยู่ในอันดับ 20 มังงะขายดีตลอดกาลแห่งแดนอาทิตย์อุทัย 

 8

และมันก็ทำให้ ไทระ นาโอยูกิ กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ “บากิตัวจริง” (Real Baki) 

“ต้นแบบของ ฮัมมะ บากิ คือนักสู้ที่ชื่อไทระ นาโอยูกิ” อ.อิตางากิ ยืนยันเรื่องนี้ในปกหลังบากิ จอมประจัญบานเล่มที่ 5   

“ไทระซังไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นใครก็สู้กับเขาไปหมด คาราเต้ ชู้ตบ็อกซิง ริงส์ เขาก็สู้โดยใช้ศิลปะป้องกันตัวที่มีอย่างคล่องแคล่วโดยไม่เลือกเวที”

นั่นทำให้ บากิ และไทระ เหมือนกันคู่แฝดราวกับถอดแบบมา ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกัน ดวงตา จมูก และปาก การยืนตั้งการ์ด ไปจนถึงท่าไม้ตาย “ท่าตอกส้นเท้า” ของบากิ ก็ยังมีส่วนคล้ายกับ “ท่าแบ็คคิก” ท่าประจำของไทระ อยู่ไม่น้อย 

“เทคนิคแรกที่ผมจำได้คือแบ็คคิก ผมเรียนมาจากการดู เบนนี เออร์คิวเดส และอ่านหนังสือ ผมลองทำดูและมันก็ทำได้ อาจจะไม่เหมือน แต่ก็ลองฝึกทำที่โรงเรียน และก็ทำได้สำเร็จ” ไทระพูดถึงท่าไม้ตายของเขากับนิตยสาร Rings Battle genesis 

9
 
ในขณะเดียวกัน ทั้งสองยังมีภูมิหลังที่คล้ายกัน ทั้งการเป็นนักสู้มาตั้งแต่อายุยังน้อย รวมไปถึงการฝึกฝนร่างกายอย่างหนัก เพื่อเป็นนักสู้ที่แข็งแกร่งแกร่ง จะต่างออกไปแค่เพียง ไทระ ยังไม่เคยสู้กับวานรยักษ์เท่านั้น 

แน่นอนว่าสำหรับสถิติการประลองก็ยังมีส่วนคล้ายกัน เมื่อไทระ สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ทุกครั้งในการแข่งขันแบบ MMA ที่เขาพกสถิติชนะ 5 ครั้งรวด ไม่ต่างจากบากิ ที่เป็นนักสู้ไร้เทียมทาน

นอกจากนี้เหตุการณ์บางเหตุการณ์ในบากิ ยังแทบจะถอดแบบมาจากชีวิตของไทระ ที่ชัดเจนที่สุดคือตอนที่ บากิ ไปเรียนวิชายิวยิตซูที่บราซิลจากดิคสัน ซึ่งเป็นตัวละครที่มีต้นแบบจาก ริคสัน เกรซี ก็ยังไปเหมือนกับเหตุการณ์ที่ ไทระ ไปเรียนวิชายิวยิตซู คาร์ลี เกรซี ที่อเมริกา อีกด้วย 

 10

“ไทระซังชอบศิลปะการต่อสู้มาก และแข็งแกร่งมาก ผมเลยอยากเอาความเจิดจ้าของไทระซังมาใส่ไว้ในตัวบากิ” อ.อิตางากิ ให้เหตุผล 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าไทระ และบากิ เป็นเหมือนโลกคู่ขนานของกันและกันที่ราวกับถอดแบบกันมา แต่มันก็มีบางอย่างที่ค่อนข้างต่างกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจอกับนักมวยจากประเทศไทย 

ในเรื่อง บากิ นักมวยไทยมักจะถูกเขียนให้มีฝีมือไม่ได้เก่งกาจมากนัก แถมครั้งหนึ่ง ฮัมมะ บากิ ยังเคยเอาชนะไปได้อย่างไม่ยากเย็นด้วยท่า “ดีดไข่” ในตำนาน แต่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้ามจากโลกจินตนาการ  

เพราะครั้งแรกและครั้งเดียวที่ ไทระ ได้มีโอกาสลงนวมกับ ลมอีสาน ส. ธนิกุล นักมวยไทย อย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันชูตบ็อกซิง เขาต้องเสียสถิติพ่ายเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี หลังถูกตีเข่าจนน็อคไปในยก 3 

แต่ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังได้รับการยกย่องในบ้านเกิด

ตำนานที่ยังมีลมหายใจ 

แม้ว่า ไทระ อำลาเวทีไปตั้งแต่ 2002 ด้วยวัย 38 ปี แต่เขาในวัย 50 กว่า ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในวงการนักสู้ของญี่ปุ่น โดยปัจจุบันเขาเปิดสำนักที่ชื่อว่า Strapple ซึ่งสอนทั้งบราซิลยิวยิตซู, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม และคาราเต้

12

ในความเป็นจริง เขาอาจจะไม่ได้เก่งกาจเท่ากับ ฮัมมะ บากิ (ซึ่งแน่อยู่แล้วเพราะเป็นเรื่องในการ์ตูน) หรือมีผลงานที่โดดเด่นในระดับโลก แต่เขาก็ได้รับการยอมรับที่ญี่ปุ่น ในฐานะนักสู้ผู้หลงใหลในศิลปะการป้องกันตัวที่ไม่มีใครเทียบได้ 

นอกจากนี้เขายังได้รับการยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกกีฬา MMA ในญี่ปุ่น ตั้งแต่สมัยที่ UFC ยังไม่ก่อตั้ง และถือเป็นนักสู้ MMA ชาวญี่ปุ่นลำดับต้นๆ ที่ได้แสดงฝีไม้ลายมือในเวทีระดับโลก ในช่วงที่การแข่งขันนี้เพิ่งตั้งไข่ 

ที่ทำให้เขาได้รับการขนานนามในฐานะ “บากิตัวจริง” มาจนถึงปัจจุบัน  

Let's block ads! (Why?)



"มีชื่อเสียง" - Google News
June 17, 2020 at 08:59AM
https://ift.tt/2YFBSqJ

"ไทระ นาโอยูกิ" : ต้นแบบคาแรกเตอร์ตัวจริงของ "บากิ จอมประจัญบาน" - Sanook
"มีชื่อเสียง" - Google News
https://ift.tt/36UBHvx

No comments:

Post a Comment