Pages

Wednesday, June 17, 2020

เราทำตัวถูกไหม กับปัญหาการตีความบังคับใช้กฎหมาย - เดลีนีวส์

sungguhviralaja.blogspot.com

มันน่าสนใจตรงที่สถานบริการผับ บาร์ คาราโอเกะ เธคอะไรพวกนี้ บางที่มันเป็นสถานประกอบการประเภทที่คนก็ไม่ค่อยอยากแสดงตัวเข้าเช็คอินกับแอพฯ ไทยชนะ ให้มันเป็นหลักฐานว่า มาเที่ยว เกิด “อุบัติเหตุข้อมูลหลุด” อะไรขึ้นมาบางคนบ้านแตกเอาง่าย ๆ พอคนไม่อยากมาเช็คอิน เปิดไปมันก็ซบเซา และมีภาระค่าใช้จ่ายเป็นฟิกซ์คอร์สรออยู่ก่อนแล้ว เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าแรงพนักงาน ค่าเครื่องดื่มที่ต้องซื้อมาบริการ

ประกอบกับธุรกิจภาคกลางคืนของประเทศไทยเรานั้น นักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะโดยเฉพาะจีน ย่านสีลมก่อนเหตุการณ์โควิดนั้นคนจีนเยอะมาก แต่สายการบินอะไรก็ยังไมเปิดรับชาวต่างชาติเข้ามา จะใช้นโยบายที่เรียกว่า เปิดสายการบินกับคู่ประเทศที่ปลอดภัยก่อน ก็ไม่รู้ว่าเปิดได้กี่ประเทศเพราะทั่วโลกฝั่งยุโรป อเมริกาก็ยังระบาดกันโครมๆ ซึ่งยุโรปนี้คนแถวสแกดิเนเวียมาเที่ยวไทยเยอะ ขณะที่จีนก็เพิ่งตรวจพบการระบาดหย่อมเล็กที่ปักกิ่งไป

ย้ำว่าธุรกิจบันเทิงภาคกลางคืนเป็นธุรกิจที่ทำเงินให้ประเทศไทยมหาศาล แต่จะน่าสงสารที่สุดเมื่อต้องเปิด เพราะถ้ายึดกฎที่ต้องเช็คอินเช็คเอาท์ ก็ไม่ค่อยมีใครอยากมา จะให้ควบคุม social distancing ก็ยาก โดยเฉพาะเธคที่มีการจัดปาร์ตี้ ซึ่งในประเทศไทยก็มีการจัดปาร์ตี้ที่ขึ้นชื่อชาวต่างชาติชอบมาอย่าง G circuit,White party หรือมีภาคธุรกิจที่จัดปาร์ตี้เป็นระยะอย่างกลุ่ม trasher Bangkok พวกนี้จัดงานแบบรักษาระยะห่างแทบไม่ได้ เพราะการมาแฮงค์เอาท์คือการมาหาเพื่อนใหม่ๆ

ก็ไม่รู้ว่า พ.ร.ก.กู้เงินนี่จะช่วยผู้ประกอบการหรือคนในภาคธุรกิจนี้ได้เพิ่มมากน้อยแค่ไหนเพราะมัน “ฟื้นตัวช้า” เห็นเบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์บอกว่างบเยียวยานี่มีผู้เสนอโครงการมาเยอะแยะโดยเฉพาะเรื่องทำถนน ก็มีคนวิจารณ์ไปพอท้วมๆ ว่า “มันกินง่ายสิ”ตั้งแต่ต้นทางประมูลยันตรวจรับ จนสภาพัฒน์ฯ ต้องออกมายืนยันเรื่องการพิจารณาโครงการตามความเหมาะสมจริงๆ กระตุ้นเศรษฐกิจได้

พอพูดถึงเรื่องการจัดการ social distancing ก็มีข้อเหน็บแนมแบบเอามาทำเป็น meme ในอินเทอร์เนตกันขำๆ ว่า “สองมาตรฐาน” เขายกตัวอย่างกรณีรถเมล์แน่นๆ หรือรถไฟฟ้า ที่กำหนดให้นั่งที่เว้นที่ แต่คนใช้บริการมากก็ต้องยืนแออัดกันแบบหายใจจะรดต้นคออยู่แล้ว เช่นนี้มัน social distancing ตรงไหน? จะจำกัดจำนวนคนก็ไม่ได้เพราะคุณไม่ได้ใช้ระบบเหลื่อมเวลาในการทำงานให้คนออกจากบ้านกลับบ้านไม่พร้อมกันแต่แรก

เรื่องการจัดการกฎหมายในบ้านเราตอนนี้ก็อยู่ๆ มีการหยิบเรื่องการโพสต์ภาพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันอีกแล้วว่า “มาตรฐานอยู่ตรงไหน” โพสต์อะไรได้แค่ไหนโดยเฉพาะประชาชนกลัวเรื่องถูกแอบสอดส่องไปแจ้งความ เรื่องนี้เคยเป็นประเด็นมาแล้วเมื่อเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งใช้วิธี “ตีเนียน” โฆษณาทางอินเทอร์เนตโดยให้ดารา คนดังทำทีเป็นถือเครื่องดื่มหรือบางคนก็บอกกันโจ้งๆ เลยว่า ดื่มง่าย อร่อย

ก็งงๆ เหมือนกันว่ากระแสมันมาจากอะไร เครื่องดื่มจะทำพีอาร์หลังจากปลดล็อคโควิดระยะ 4 หรืออย่างไร แต่กลายเป็นว่ามีการแชร์ข้อมูลกันในโลกออนไลน์ทั่วไป เพื่อล่ารายชื่อประชาชนเสนอยกเลิกมาตรา 32 ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นมาตราที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ที่ห้ามโฆษณาในทางการค้า เช่น โพสต์พร้อมข้อความเชิญชวนขาย และห้ามแสดงชื่อเครื่องหมายเครื่องดื่ม อวดอ้างให้คนอยากดื่ม

ทำให้ นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องออกมาชี้แจงว่า “มันห้ามการโพสต์เพื่อการโฆษณา“ ดังนั้น การที่ประชาชนโพสต์ภาพขวดเหล้าเบียรื หรือแก้วเบียร์ที่มีโลโก้เบียร์ จึงยังไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายนี้ ซึ่งอย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีดารา เน็ตไอดอล หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงต้องเข้าพบเจ้าพนักงาน เพราะโพสต์ภาพคู่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แต่บุคคลมีชื่อเสียงกับบุคคลทั่วไปมีความแตกต่างกัน (ตรงนี้ต้องทำดอกจันไว้ตัวโตๆ) ถ้าเป็นถ้าเป็นบุคคลทั่วไปโพสต์ภาพคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยที่ไม่มีข้อความเชิญชวนอวดอ้างชักจูงใจก็จะไม่เป็นความผิด แต่ดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ทำให้คนหันมาสนใจสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลเป็นการโน้มน้าวหรือชักจูงใจได้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม จึงไม่สามารถทำได้

นพ.นิพนธ์ระบุว่า ที่ผ่านมามีผู้กระทำความผิดกรณีนี้มาโดยตลอด แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ร้านค้าต่างๆ ถูกสั่งปิดและห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จึงมีการหันมาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 เรื่องร้องเรียนผ่านระบบเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (TAS) มีจำนวนถึง 174 เรื่อง

ดังนั้นจึงได้มีการออกหนังสือเรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ถ้อยคำกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริง หากไม่เกี่ยวข้องก็สามารถแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมแสดงพยานหลักฐานได้  ซึ่งโทษความผิดฐานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการโฆษณาของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะปรับ 500,000 บาท โดยมีการกำหนดอัตราการเปรียบเทียบปรับไว้ด้วย

คราวนี้ต้องมานั่งตีความ “บุคคลที่มีชื่อเสียงกับไม่มีชื่อเสียง” กันอีก สมัยก่อนยุคอินเทอร์เนตเฟื่องฟู แน่นอน บุคคลมีชื่อเสียงคือดารา เซเลบริตี้ตามงานสังคมต่างๆ หรือไฮโซ แต่โลกปัจจุบันนี้ตีความอย่างไรว่าไม่มีชื่อเสียง เพราะเขาสามารถจ้างเนตไอดอลที่มีผู้ติดตามหลายหมื่นให้โพสต์ก็ได้  เช่นนี้ถือว่าเป็นบุคคลมีชื่อเสียงหรือไม่แม้จะไม่ได้ทำงานในวงการบันเทิง เนตไอดอลบ้านเราก็เยอะ ที่พยายามหาผู้ติดตามเพื่อประโยชน์ในการรับโฆษณาผ่านสื่อของตัวเอง

แล้วถ้าเกิดโพสต์ไหนไม่ใช่เนตไอดอลโพสต์แต่ถูกทำเป็น meme ขยายไปเรื่อย คนเห็นเยอะ จะกลายเป็นการโฆษณาหรือไม่ ? เพราะบางคนก็อุตริอยากเล่นตาม meme หรือตาม tiktok นั้น คือการบังคับใช้กฎหมายตัวนี้มันเหมือนเป็นการ “ควบคุมด้วยวินัยอย่างไม่ชัดเจน” ซึ่งมันทำให้คนเกิดความกลัวว่า “เราเข้าข่ายหรือเปล่าวะ” เห็นทีจะต้องมีคดีถึงชั้นฎีกามาเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณา ในโลกที่การสื่อสารไปไวและจะมีผลอะไรตามมาก็ได้แบบนี้

คงไม่มีใครอยากเป็นผู้กล้าเป็นหนูลองยาตัวแรกหรอก และก็ไม่มีใครอยากถูกจำกัดเสรีภาพเกินไป. 
..............................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย “บุหงาตันหยง”      
                

Let's block ads! (Why?)



"มีชื่อเสียง" - Google News
June 18, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/2zGaUXx

เราทำตัวถูกไหม กับปัญหาการตีความบังคับใช้กฎหมาย - เดลีนีวส์
"มีชื่อเสียง" - Google News
https://ift.tt/36UBHvx

No comments:

Post a Comment