ข่าวพาดหัวตัวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นึกถึงบทเรียนที่ดิฉันได้อ่านสมัยประถม เรื่อง “พ่อแม่รังแกฉัน” ของพระยาอุปกิตศิลปสาร
ที่ฟังคล้ายแสนโบราณ แต่กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
ปราชญ์ไทย ไม่เคยตกยุค
ดิฉัน ในฐานะแม่ (แมว) มั่นใจว่า ที่เราคล้าย “รังแก” ลูก หลายๆครั้ง อาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หรือ เกิดจากความรักและห่วงใยแบบเกินขอบเขต ผสมเฉดของการกลัวลูกไม่รัก
ตลอดจนการ “ให้” และ “ตามใจ” ลูก ช่างทั้งง่าย และใช้เวลาน้อยกว่านั่งเกลี้ยกล่อมอธิบาย มากมายนัก จึงสั่งสม “รังแก” ตั้งแต่เรื่องที่เหมือนเล็กๆ จนถึงเรื่องใหญ่ อาทิ
- ลูกชอบขนมหวาน และอาหารขยะ ก็ละเลย ให้ตามใจ จนเด็กอ้วนพี มีปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและยาว
- เซ็นต์รายงาน “เท็จ” ในสมุดบันทึกความดีของลูก ว่า ช่วยล้างจาน “จริง”!
- ลูกอยากได้หุ่นยนต์ตัวใหม่ที่มีอำนาจทำลายล้างทรงพลังกว่าตัวเดิมๆ ก็กระหน่ำให้ (หมายรวมถึงอุปกรณ์แต่งรถซิ่ง รถหรูดูรวยล้ำ ฯลฯ)
- ฝากฝังลูกกับ “ผู้ใหญ่” เพื่อให้ได้งาน หรือ ได้อภิสิทธิ์อื่นใด แซงหน้าใครๆที่ไร้เครือข่าย ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
The Marshmallow Test เป็นบทเรียนหนึ่งที่จะสอนใจคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องรับผิดชอบลูก ตลอดทั้งชีวิตเขาก็ว่าได้เพราะ การที่เราบรรจงปั้นเขามาอย่างไรตั้งแต่วัยเยาว์ “ทรง”เขามักคงสภาพตามที่ปั้นไว้ ไม่ว่าจะบิดเบี้ยวหรือไม่ก็ตาม
The Marshmallow Test เป็นการศึกษาที่มีชื่อเสียงของ Dr. Walter Mischel อาจารย์วิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย Stanford สหรัฐอเมริกา
source: CNN
วิธีการ คือ คุณครูจะวางขนมหวานที่เด็กอนุบาลชอบไว้ตรงหน้า 1 ชิ้น และบอกเด็กให้รอ อย่าเพิ่งทานขนมตอนครูไปทำธุระ ถ้าทำตามที่ครูบอก กลับมาจะให้ทานขนมเพิ่มอีก 1 ชิ้นเป็นรางวัล
ผลการวิจัย คือ เด็กหลายคนอดไม่ได้ แม้รู้ว่าถ้าทนไหว จะได้เพิ่มอีกชิ้น ก็ของโปรดยั่วยวนอยู่ตรงหน้า เลยเผลอหยิบกินจนได้ในไม่กี่นาที
ขณะที่มีเด็กบางคน มีความสามารถควบคุมตนเอง หรือ มี “self-control” ทนความอยากไหว โดยใช้วิธีต่างๆ เช่น พยายามร้องเพลงหงุงหงิง กระโดดเล่นไปมา ฯลฯ จะได้ไม่หมกมุ่นกับขนมข้างหน้า เพราะรู้ดีว่าคุณครูขอ และทนอีกนิด จะได้ขนมตั้ง 2 ชิ้น
Dr. Mischel ทำการวิจัยต่อเนื่องกับเด็กเหล่านี้ นานนับ 50 ปี และฟันธงว่า เจ้า “self-control” นี้ มีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต วัดได้หลายด้าน เช่น เด็กที่อดทนต่อความอยากกินขนมสำเร็จ มีแนวโน้มที่จะได้คะแนนสอบตอนมัธยมสูงกว่า มีสุขภาพดีกว่า หย่าร่างน้อยกว่า ฯลฯ กลุ่มเด็กที่ทนต่อสิ่งเร้า หรือเจ้าขนมตรงหน้าไม่ได้ตั้งแต่วัยเยาว์
เพราะทั้งชีวิต เราต้องเผชิญกับเจ้าตัวยั่วยวนมากมาย
คนกลุ่มหนึ่ง จะเลือกไหลย้วยไปตามสิ่งเร้า เอาง่ายๆตามใจตนไปก่อน แล้วค่อยแก้ปัญหาที่ตามมาภายหลัง
ขณะที่อีกกลุ่ม มีสติยับยั้งชั่งใจ ไม่คว้า เมื่อรู้ว่าไม่ควรทำ และพร้อมอึดทำในสิ่งที่แม้ไม่ง่าย แต่ส่งผลต่อความสำเร็จในภายภาคหน้า
ดิฉันมีข่าวดีมาเล่าเพิ่มค่ะ
CNN สัมภาษณ์ Dr. Mischel หลังจากวิจัยเรื่องนี้ 50 ปีต่อเนื่อง ว่า “อาจารย์เชื่อว่า self-control สร้างได้หรือไม่?”อาจารย์ตอบอย่างมั่นใจว่า
“ผมไม่เพียง “เชื่อ” ว่าสร้างได้ เพราะผม “รู้” ว่ามันสร้างได้!”
ดิฉันเสริมว่า การสร้างนิสัยที่พึงประสงค์ มิใช่เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่แต่ผู้เดียว เพราะเป็นหน้าที่ของลูก หรือของเจ้าตัวเองด้วย
ผู้ประพันธ์ Harry Potter คุณ J.K. Rowling ซึ่งเป็นหนึ่งในหญิงที่รวยที่สุดในโลก และประสบความสำเร็จสูงสุด จากต้นทุนชีวิตที่ต่ำสุดตั้งแต่วัยเยาว์ ฟันธงว่า
“There is an expiry date on blaming your parents for steering you in the wrong direction; the moment you are old enough to take the wheel, responsibility lies with you.”
แปลคร่าวๆได้ว่า
การโทษพ่อแม่ว่า “รังแกฉัน” จะหมดอายุ (เฉกเช่น ยา หรืออาหาร ที่มีวันหมดอายุ) ณ นาทีที่เราโตพอที่จะ “ขับรถเองได้”เพราะเรามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบพฤติกรรมตนเองตั้งแต่บัดนั้น
“take the wheel” แปลตรงๆว่า ขับรถเองได้ หรือ กุมบังเหียนชีวิตตนเองได้...ช่างเข้าสมัยสังคมไทยวันนี้สุดๆ!
ครั้งหน้า มาคุยกันต่อว่า การสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำหรับทั้งลูกที่เรารัก ตลอดจนตัวเราเอง จากการวิจัย เขาทำกันอย่างไรค่ะ
ดูบทความทั้งหมดของ พอใจ พุกกะคุปต์
"มีชื่อเสียง" - Google News
August 02, 2020 at 01:01AM
https://ift.tt/3147BTM
พ่อแม่อย่ารังแกฉัน! | พอใจ พุกกะคุปต์ - กรุงเทพธุรกิจ
"มีชื่อเสียง" - Google News
https://ift.tt/36UBHvx
No comments:
Post a Comment