Pages

Tuesday, September 29, 2020

ไซเบอร์ บูลลี่ ระรานออนไลน์ สะใจ แต่โทษหนัก อย่าทำ! - thebangkokinsight.com

sungguhviralaja.blogspot.com

จากกรณีที่นักแสดงสาวชื่อดัง “เแมท ภีรนีย์ คงไทย” เดินหน้าฟ้อง “เกรียนคีย์บอร์ด” หรือบรรดาชาวเน็ตที่เข้ามาด่าว่าเธอตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมบอกเล่าถึงเรื่องราวความทุกข์ ที่ต้องประสบมาตลอดในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้บรรดาชาวโลกออนไลน์ เริ่มหันมาตระหนักกันอีกครั้ง ถึงพฤติกรรมที่เรียกกันว่า “ไซเบอร์ บูลลี่” ที่สร้างความเกลียดชัง หรือความเสื่อมเสียในตัวบุคคล ที่เป็นเหยื่ออยู่เป็นประจำ

ปรางค์ทิพย์ อนันตวิภาต ประธานมูลนิธิ “คุณ” ระบุว่า การที่มีคนไปขุดคุ้ยในเรื่องเดิมๆ และถูกสังคมออนไลน์ทำการ “ไซเบอร์ บูลลี” ซ้ำไปซ้ำมา ก็อาจจะทำให้บุคคลที่ถูกกระทำ และไม่มีจิตใจเข้มแข็ง เกิดภาวะโรคซึมเศร้าได้ จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่คิดไม่ถึงก็ได้

ไซเบอร์ บูลลี่

ปัญหาการใช้โซเชียลมีเดียในไทย จัดว่าเป็นปัญหาที่รุนแรง กว่าหลายประเทศในโลก  หากสังเกตจะพบว่า ประเทศในแถบยุโรป แทบจะไม่มีการแสดงความเห็นที่ให้ร้ายกันแบบในไทย  ซึ่งปัญหา “ไซเบอร์ บูลลี” ในไทย เรียกได้ว่า วิกฤติไม่แพ้ประเทศอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างเกาหลีใต้ ที่มักจะเกิดข่าวศิลปิน ดาราชื่อดัง ตัดสินใจฆ่าตัวตาย เพราะทนไม่ได้กับการโดนบูลลี ในโลกออนไลน์

ในไทยเอง ก็เริ่มมีคนมีชื่อเสียงตัดสินใจปลิดชีพตัวเองมากขึ้น โดยทางออกที่อาจจะช่วยลดปัญหาได้ ก็คือ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะมีการพัฒนาบทลงโทษหรือคุมเข้มด้านกฏหมายในเรื่องนี้ด้วย

ไซเบอร์ บูลลี่ คืออะไร 

การใช้เครื่องมือสื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่คนอื่น ๆ สามารถเห็นได้ มีการแชร์ต่อ หรือมีการพูดถึงประเด็นนั้นๆ ต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม แชต หรือเว็บไซต์ต่างๆ เป็นเครื่องมือหลักในการรังแก และกลั่นแกล้งกัน

ไซเบอร์ บูลลี่ แบ่งออกได้เป็น 6 รูปแบบด้วยกัน 

คุกคาม

  • ใช้ข้อความคุกคาม ข่มขู่ หรือประจานเป้าหมาย
  • เผยแพร่ข่าวลือ หรือข้อมูลจงใจให้อับอาย ผ่านเครือข่ายโซเชียล อย่างเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม
  • ทำ “สงครามส่งข้อความ” และ “โจมตีโดยการส่งข้อความ” เมื่อคนกลุ่มหนึ่งรุมกลั่นแกล้งเป้าหมาย และส่งข้อความจำนวนมาก เป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือถึงหลักพันก็มี จนทำให้เป้าหมายเกิดความเครียด

แอบอ้างตัวตนคนอื่น 

  • ถูกสวมรอย นำบัญชีโซเชียลมีเดีย ไปโพสต์ข้อความหยาบคาย ให้ร้ายบุคคลอื่น โพสต์รูปโป๊ คลิปวิดีโอลามก หรือสร้างความเสียหายในรูปแบบต่าง ๆ
  • เข้าไปแก้ไขโปรไฟล์เป้าหมายให้สุ่มเสี่ยงเรื่องเพศ เหยียดผิว หรือแสดงความคิดเรื่องต่างๆที่ไม่เหมาะสม
  • แกล้งเป็นบุคคลอื่นเพื่อลวงคนให้คบหาฉันคนรัก
  • แกล้งเป็นบุคคลที่เป็นเป้าหมายแล้วเข้าไปโพสต์ข้อความในห้องแชทต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดอันตราย โดยการติดต่อ นัดพบ ให้ข้อมูลส่วนตัว ฯลฯ

ใช้ภาพถ่าย

  • แอบถ่ายภาพโป๊ หรือเปลือยของเหยื่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ภาพ ที่จะทำให้เหยื่ออับอาย เพื่อแบล็คเมล หรือบังคับให้เป้าหมายทำสิ่งที่ต้องการ
  • ส่งข้อความหาคนจำนวนมาก ที่มีภาพโป๊หรือเปลือยของเหยื่อ
  • โพสต์ภาพโป๊หรือเปลือยของเหยื่อบนเวบไซต์สาธารณะให้คนเข้าไปดูและดาวน์โหลดได้
  • วิพากษ์วิจารณ์เรื่องทางเพศ หวังให้เหยื่ออายต่อการแต่งตัว การกระทำ หรือแม้แต่จำนวนคนที่เคยคบหา

ใช้เวบไซต์ โพล และอื่นๆ

  • พัฒนาเวบไซต์ด้วยข้อมูล ที่หวังให้เหยื่ออับอาย หรือข้อมูลที่ดูถูกเป้าหมาย
  • เผยแพร่ข่าวลือ หรือนินทาเกี่ยวกับเหยื่อบนโลกออนไลน์ ผ่านเวบไซต์ หรือบล็อกต่างๆ
  • นำข้อมูลที่เหยื่อเล่าให้ฟังส่วนตัว มาเผยแพร่สู่สาธารณะ
  • สร้างโพลสาธารณะให้คนออกความเห็นเกี่ยวกับเหยื่อ อย่างเช่น “ใครหน้าตาน่าเกลียด…” “ใครอ้วน…” “ใครโง่…”
  • โพสต์ข้อความหยาบคาย หรือดูถูกเกี่ยวกับเหยื่อ ผ่านการแชทบนเกมออนไลน์
  • ส่งไวรัส สปายแวร์ หรือโปรแกรมแฮกไปยังเป้าหมาย เพื่อที่จะคอยสอดแนม หรือควบคุมคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ

ล้อเลียนด้วยวีดีโอคลิป

  • ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อถ่ายคลิปวิดีโอคลิป ขณะกลั่นแกล้งเหยื่อแล้วนำมาเผยแพร่ในภายหลัง
  • ส่งต่อคลิปวิดีโอให้คนจำนวนมาก ผ่านอีเมล หรือข้อความ เพื่อหวังให้เหยื่อเกิดความอับอาย
  • สร้างสถานการณ์ที่ทำให้คนอื่นเกิดความเครียด หรือกลัดกลุ้ม แล้วถ่ายคลิปวิดีโอสิ่งที่เกิดขึ้น

โพสต์ข้อความที่คลุมเครือบนโลกออนไลน์

  • โพสต์ข้อความบนโลกออนไลน์ที่คลุมเครือ โดยไม่เอ่ยชื่อเหยื่อ แต่เป็นเรื่องที่เหยื่อ หรือคนในวงสังคมรู้ว่าหมายถึงใคร
  • โพสต์ข้อความ ที่คลุมเครือเพื่อสร้างข่าวลือ

ไซเบอร์ บูลลี่

รับมืออย่างไรดี เมื่อเจอ ไซเบอร์ บูลลี

  • อย่าตอบสนอง

ยิ่งมีปฏิกิริยาตอบโต้ ก็จะยิ่งเป็นไปตามที่เขาต้องการ นิ่งไว้จะดีกว่า ปล่อยให้อีกฝ่ายทำไปฝ่ายเดียว

  • อย่าตอบโต้

การตอบโต้ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงพอ ๆ กัน หรือวิธีการคล้าย ๆ กัน อาจทำให้เรื่องราวยิ่งบานปลายมากขึ้นได้  ดังนั้นเราควรเป็นคนปิดวงจรนี้ ด้วยการนิ่งเฉยจะดีกว่า

  • เก็บหลักฐานให้มากที่สุด

ปัจจุบัน มีกฎหมายคุ้มครองการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นหากมีใครมากระทำการอันส่อไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่เป็นความจริง และสร้างความเสียหาย ผ่านโลกโซเชียล นั่นจะเป็นหลักฐานที่ดีที่จะเอาผิดกับผู้กระทำได้

  • บล็อกไปเลย

ถ้ายังราวีไม่หยุด ก็ควรบล็อกคนนั้นออกจากวงจรโซเชียลมีเดียไป ปิดช่องทางไม่ให้เขามาวุ่นวายกับเราในโลกออนไลน์ได้อีก ซึ่งการไม่รับรู้ ไม่ตอบโต้ ไม่เดือดร้อนใด ๆ ก็จะทำให้ผู้กลั่นแกล้งรู้สึกไม่สนุกและเบื่อไปเอง

  • ขอความช่วยเหลือ

ถ้าถูกกลั่นแกล้งหนักจนเกินรับมือไหว ควรเล่าปัญหาที่เจอกับคนใกล้ตัว หรือคนที่มีอำนาจมากพอจะหยุดการบูลลี่นี้ได้

  • ใช้เครื่องมือในสื่อออนไลน์ช่วยจัดการ

สื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทาง มีตัวเลือกให้เรากดแจ้งให้ผู้บริการสื่อออนไลน์ระงับโพสต์ หรือแบนโพสต์ที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้น ก็สามารถใช้วิธีนี้จัดการกับคนที่มากลั่นแกล้งเราได้เช่นกัน

  • ไม่ทำร้ายหรือแกล้งใคร

พยายามอย่าทำตัวเป็นชนวนก่อให้เกิดปัญหา เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบโต้ในรูปแบบเดียวกัน ฉะนั้น หากไม่อยากถูกบูลลี่ ก็อย่าไปทำพฤติกรรมแบบนี้กับใคร แม้แต่การโพสต์บ่น หรือว่าร้ายใครในสังคมออนไลน์ก็ไม่ควรทำ

ไซเบอร์ บูลลี่

ผิดกฎหมายข้อไหน มีบทลงโทษอย่างไรบ้าง

แม้ไทยจะยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการทำผิดในเรื่องการกลั่นแกล้งทางออนไลน์โดยตรง แต่ก็พอมีกฎหมายบางข้อที่นำมาปรับใช้กับเคสนี้ได้ แม้จะไม่ครอบคลุมทั้งหมด เช่น

ประมวลกฎหมายอาญา

  • มาตรา 326 การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม และทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 328 ถ้าเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ไม่ว่าจะใช้ภาพ หรือตัวอักษร หรือบันทึกเสียง หรือบันทึกภาพ หรือป่าวประกาศด้วยวิธีใด ๆ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท
    อย่างไรก็ตาม สำหรับกฎหมายหมิ่นประมาทนี้ ยังมีข้อจำกัดตรงที่ การตัดสินว่ามีความผิดหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาด้วยว่า ถ้อยคำที่ใช้กลั่นแกล้งล้อเลียนกันนั้น สามารถเป็นจริงได้หรือไม่ หากล้อเลียนกันด้วยข้อความที่เป็นไปไม่ได้ หรือถ้อยคำที่ใช้ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ก็จะไม่เป็นความผิด
  • มาตรา 392  ผู้ที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัว ตกใจ โดยการขู่เข็ญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 397 หากรังแก ข่มเหง คุกคามผู้อื่น หรือทำให้ได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

  • มาตรา 14 กรณีโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอมแปลงไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลที่เป็นเท็จ ซึ่งคนอื่นสามารถเข้าไปดูข้อมูลนั้นได้ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย รวมทั้งข้อมูลลามกต่าง ๆ ทั้งผู้โพสต์และผู้เผยแพร่ส่งต่อ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow

Let's block ads! (Why?)



"มีชื่อเสียง" - Google News
September 30, 2020 at 08:47AM
https://ift.tt/3idmWIb

ไซเบอร์ บูลลี่ ระรานออนไลน์ สะใจ แต่โทษหนัก อย่าทำ! - thebangkokinsight.com
"มีชื่อเสียง" - Google News
https://ift.tt/36UBHvx

No comments:

Post a Comment